วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบปรับอากาศรถยนต์โดยสังเขป

 
 
                                 อย่างที่ท่านผู้อ่านทราบกันดีว่า อากาศในประเทศไทยนั้น ร้อนอบอ้าว ทำให้รถยนต์ที่แล่นอยู่ในบ้านเรา จึงจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ กันจนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่หลายๆท่าน อาจจะยังไม่รู้จักว่า ภายในระบบปรับอากาศของรถยนต์นั้น ประกอบด้วยชิ้นส่วนอะไรบ้าง และแต่ละชิ้น มีหน้าที่อย่างไร

                                 เรามาทำความรู้จักระบบแอร์รถยนต์กัน ว่าระบบการทำงานของแอร์รถยนต์นั้นทำงานกันอย่างไร เพื่อท่านผู้อ่านจะได้เข้าใจในการทำงานของระบบต่างๆภายในแอร์รถยนต์ได้เป็น อย่างดี พูดถึงระบบแอร์รถยนต์แล้วท่านเองอาจจะคิดว่า ระบบแอร์ของรถยนต์แต่ละรุ่นนั้นคงเหมือนกันหมด แต่จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ รถยนต์บางรุ่นมีระบบแอร์ที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่การออกแบบระบบการทำงาน ตั้งแต่คอมเพรสเซอร์แอร์ก็มีความแตกต่างกันมาก สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน คอมเพรสเซอร์แอร์นั้นมีทั้งทำงานด้วยคลัตซ์ไฟฟ้าและไม่มีชุดคลัตซ์ไฟฟ้าแล้ว ส่วนระบบไฟฟ้าของระบบแอร์นั้นก็มีมากมายกว่ารถยนต์รุ่นเก่าหลายเท่าทีเดียว ช่างที่ให้บริการถ้าไม่เรียนรู้เทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆยากที่จะให้บริการได้

                                เรามาดูรูปประกอบไปด้วยดีกว่าว่าการทำงานของระบบแอร์นั้นมีอุปกรณ์ส่วนใดทำ หน้าที่อย่างไรกันบ้าง มาดูที่คอมเพรสเซอร์ (Compressor) กันก่อนนะครับ ในภาพของตัวคอมเพรสเซอร์ก็จะเห็น "ลูกสูบคอมเพรสเซอร์" ซึ่งเวลาพู่เล่ย์คอมเพรสเซอร์หมุน ลูกสูบภายในตัวคอมเพรสเซอร์นี้ จะยังไม่หมุน นอกเสียจากเราเปิดแอร์แล้วกดสวิตช์ AC  บนแผงหน้าปัด กระแสไฟฟ้าก็จะถูกส่งมาที่ชุดคลัตซ์ไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์ จานหน้าคลัตซ์ก็จะถูกสนามแม่เหล็กดึงเข้ามาจับกับพู่เล่ย์ลูกสูบจึงหมุนตาม พู่เล่ย์ จึงทำให้คอมเพรสเซอร์ทำกำลังอัด และดูดในเวลาเดียวกัน


                                ท่อที่เห็นเป็นสีแดงนั้นเป็นท่อที่ดันน้ำยาออกมาเข้าแผงระบายความ ร้อน(คอนเดนเซอร์ : Condenser) ที่ท่อแรงดันสูงจากคอมเพรสเซอร์เป็นสีแดงจุดนั้น หมายถึง สภาพน้ำยาแอร์นั้นยังเป็นแก๊สอยู่ จนกระทั่งการระบายความร้อนถูกพัดลมระบายได้อุณหภูมิลดลง น้ำยาก็จะแปรสภาพเป็นของเหลวดังในรูปที่เป็นแถบสีแดงทึบ แล้วน้ำยาที่ไหลเข้ามากรองที่ดรายเออร์ (Dryer) และส่ง เข้ามาที่ เอ็กแพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) เจ้าวาล์วนี้ก็จะทำหน้าที่ลดแรงดัน (หรือฉีดน้ำยาให้เป็นฝอย) อย่างรวดเร็วจนเกิดการควบแน่น ที่เป็นท่อสีฟ้าทึบนั้นคือท่อของ อีวาปอเรเตอร์ (Evaporator : คอยล์เย็น) เป็นน้ำแข็ง และแถบสีฟ้าเริ่มจางลง เนื่องจากถูกพัดลมในห้องโดยสารเป่าอยู่  แล้ว น้ำยาที่จะค่อยๆแปรสภาพจากของเหลวเป็นแก๊สอีกครั้ง แล้วถูกคอมเพรสเซอร์ดูดกลับมา แล้วอัดออกไปอีก กระบวนการก็จะหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดระยะเวลาที่เราใช้แอร์

ระบบไฟฟ้าแอร์รถยนต์โดยสังเขป

                               เราพูดถึงการทำงานของระบบน้ำยาแอร์กันมาแล้ว ว่าทำงานอย่างไร ทีนี้ก็มาถึงระบบไฟฟ้า ที่เป็นตัวควบคุมคอมเพรสเซอร์และพัดลมไฟฟ้ากันว่า กระบวนการณ์ต่างๆทำงานกันอย่างไรบ้าง กว่าจะมาเป็นระบบแอร์ให้เราใช้อย่างสมบูรณ์ ผมจะยกตัวอย่างพอสังเขปนะครับ
                              1.สวิชต์เข้าตัวมอเตอร์พัดลม พร้อมกันนั้นกระแสจากสวิทย์พัดลมยังถูกจ่ายไปหาเทอร์โมสตรัทพร้อมกันด้วย
                              2.เทอร์โมสตัทแอร์รถยนต์(มีหลายชนิด)ทำหน้าที่เป็นตัววัดอุณหภูมิความเย็น เมื่อความเย็นในตู้แอร์เย็นได้ระดับที่เราปรับตั้งไว้ เทอร์โมสตรัทก็จะตัดวงจรไฟฟ้า ให้คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้ตู้แอร์เป็นน้ำแข็ง

                             อ่านดูเบื้องต้นระบบการทำงานของระบบแอร์นั้น ดูเหมือนจะง่าย แต่ระบบไฟฟ้าของแอร์นั้นยังซับซ้อนอยู่มาก เช่น เราเปิดเทอร์โมสตัทแล้ว วงจรไฟฟ้าจากเทอร์โมสตัทจะถูกส่งมาที่เพรสเชอร์สวิตช์และกล่อง ECU เพื่อชดเชยรอบเครื่องยนต์ และยังส่งกระแสไฟฟ้ามาที่รีเลย์คลัตช์คอมและรีเลย์พัดลมไฟฟ้าด้วย นอกจากนี้ยังไม่รวมระบบแอร์ที่เป็น Automatic ที่มีเซ็นเซอร์อีกมากมาย
                             หวังว่าบทความที่ท่านอ่านมาคงเป็นประโยชน์สำหรับท่านในระดับหนึ่ง  ในตอนหน้า เราจะพูดคุยกันลงลึกในรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ 
(รายละเอียดติดตามตอนต่อไปครับ)
                                                                                                                                              ราชันต์แอร์


----------------------------------------///------------------------------------------
วินัย บุญโชติ
อู่ราชันต์แอร์ 
rachanair.net

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องเก่า นำมาเล่าใหม่ "แฉแก๊งรถหรูแจ้งติดแก๊สหลีกเลี่ยงภาษี"


          แฉเล่ห์แก๊งนำเข้ารถ "รถหรูจดประกอบ" ปอร์เช่ เฟอร์รารี่ สปอร์ตซิ่ง แต่กลับแจ้งติด "แก๊ส" หลีกเลี่ยงภาษีนำเข้า รัฐสูญรายได้ 30 % ทำเป็นขบวนการ  สำแดงนำเข้าเป็นอะไหล่รถ แต่ที่จริงนำมาเป็นคัน ก่อนไปขอจดทะเบียน แจ้งติดแก๊ส หลีกเลี่ยงขั้นตอนตรวจ “สมอ.” ให้ขนส่งล้างเล่ม ก่อนขายให้กลุ่มรักรถหรู-รถซิ่ง ราคาต่ำกว่าท้องตลาด คาดมีเป็นพัน ๆ คัน “ศส.บช.น.” เตือน คนซื้อมาใช้อาจน้ำตาตกใน เสียเงินแถมถูกยึดรถ

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค้ำโช๊คคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร ?

Strut Tower Bar คืออะไร มีกี่ชนิด 

เหล็กค้ำโช๊ค (Strut Tower Bar) , (Strut Bar) หรือบางคนเรียก ไทร์บาร์
          เป็นแกนกลางยึดระหว่าง หัวเบ้าโช๊คทั้งสองด้านของตัวถังรถยนต์ มีหน้าแปลนยึดติดกับหัวเบ้าโช๊ค หน้า - หลัง หรือค้ำยันกับตัวถังรถส่วนใดส่วนหนึ่ง จุดประสงค์การผลิตทำขึ้นเพื่อลดอาการบิดตัวของตัวถังรถ จริงๆแล้วความนุ่มนวลในการขับขี่ และ การเกาะถนนนั้น ได้รับตัวแปรสำคัญมาจากตัวถังรถ (ง่ายๆว่า) ตัวถังจะมีการบิดตัวไปมา ซ้าย-ขวา บน-ล่าง ตามสภาวะจริงที่รถวิ่งผ่านไปตามสภาพถนน (ถ้าคุณได้เคยเห็นภาพการทดสอบตัวถังรถ จะเห็นว่าจริงๆแล้วตัวถังสามารถบิดตัวได้น่าอย่างอัศจรรย์) เป็นส่วนทำให้รถมีการขับขี่ที่นุ่มนวล ดังนั้นการเพิ่มจุดเชื่อมตัวถัง การตีโรลบาร์ หรือการสร้างเหล็กมาเสริมความแข็งแรงกับตัวถังรถ รวมถึงการติดตั้ง Strut Tower Bar นั้นเป็นวิธีการที่วงการแข่งขันรถยนต์ทำนิยมกัน เพื่อรองรับการใช้งานที่หนักขึ้นและลดการบิดตัวของตัวถังนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Engine Management System

          ในช่วงหลัง ๆ มานี้เนื่องจากกล่อง ECU ติดรถรุ่นใหม่ชอบมีฟังก์ชั่นปิดนู่นป้องกันนี่อย่างเช่น Honda Civic FD เครื่อง R18A และ K20Z หรือ Nissan Tiida HR16DE และ MR18DE ซึ่งแม้จะใส่กล่องจูนแล้ว แต่กล่อง ECU ติดรถจะล็อคค่าการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วง Close loop (Close loop - อธิบายสั้น ๆ คือ เป็นช่วงที่ภารกรรมของเครื่องต่ำและคันเร่งถูกกดไม่มากซึ่งจะจ่ายน้ำมันในอัตราส่วนเชื้อเพลิง 1 ส่วนต่ออากาศ 14.7 ส่วนหากเติมน้ำมันเบนซิน) อย่างเครื่อง Nissan รุ่นใหม่ ๆ นั้นสามารถปรับแต่งค่าการจ่ายน้ำมันได้เฉพาะช่วงที่กดคันเร่งหนักและรอบเครื่องสูงส่วน Honda Civic นั้นจะไม่ออกจาก Close loop จนกว่าคันเร่งจะกดเกิน 80% และถึงแม้ทำการจูน MAP น้ำมันไปแล้วเครื่องยนต์จะค่อย ๆ คืนค่าที่ตั้งมาจากโรงงานกลับอย่างช้าๆ

          หลายคนพบปัญหานี้บางคนที่สามารถเสกเงินเกินครึ่งแสนได้ง่าย ๆ ก็ใช้วิธีแทนที่ด้วยกล่อง Standalone เสียเลย..ถูก...ถูกโคดแค่ 6-7 หมื่นบาทซึ่งถ้าแพงไปก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งนั่นก็คือการ "Reflash" ซึ่งไม่ใช่การเอากล่องไปผูกบนเสาแล้วรอฟ้าผ่าแต่เป็นการโหลดข้อมูลใหม่ลงไปทับ ROM ของเดิมใน ECU โรงงานโดยตรงไม่ได้ใช้วิธีการหลอกสัญญาณเหมือนการพ่วงกล่อง Piggyback ดังนั้นจึงสามารถปรับได้หลายอย่างแม้กระทั่งการปลดล็อครอบเครื่องยนต์ให้ลากเกินขีดจำกัดของโรงงานปลดพันธนาการจากฟังก์ชั่นล็อค Close loop โดยไม่ต้องห่วงเรื่องที่ว่ากล่องจะคืนค่าโรงงานกลับเหมือนเดิม

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เรื่องของกล่องเทพไม่เทพอยู่ที่การใช้งานให้คุ้มค่า

          ในยุคแห่งโอเดงย่าและการ์ดดราก้อนบอลเราอาจจะรู้จักหนทางในการปรับแต่งการจ่ายน้ำมันและไฟจุดระเบิดของเครื่องยนต์ด้วยชิพแต่งกล่อง Pre-program จากสำนักดัง ๆ ราคาแพง ๆ หรือ วิธีอื่น ๆ เช่น กล่องหลอกไฟจุดระเบิดแต่ในยุคที่เด็กประถมพก Blackberry อย่างนี้วิทยาการยุคใหม่ก้าวไกลจนทำให้เราสามารถหาวิธีปรับจูน ECU ได้ละเอียดขึ้นในราคาที่ถูกลง(เมื่อเทียบกับรายได้ของคนส่วนใหญ่)
          คำว่ากล่องแต่ง, กล่องจูน, จูนกล่อง, พ่วงกล่องกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับการแต่งรถไปแล้วไอ้คำว่ากล่องที่พูดถึงกันนั้นก็แยกออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมและใช้ได้ดีในปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบจุดระเบิด : เริ่มกับขั้นต้นที่ไม่บานปลาย

          บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเรื่องระบบจุดระเบิดมันเพิ่งมาจั่วหัวเอาในตอนนี้ อย่าเพิ่งแปลกใจผมแค่อยากเก็บไว้ให้ท่านได้ปรับปรุงการนำอากาศเข้าและการเอาไอเสียออกให้ครบกระบวนเสียก่อน แล้วค่อยมาว่ากันเรื่องจุดระเบิดเพื่อที่จะได้เซ็ตกันครั้งเดียวแล้วจบอย่างเหมาะสมกับสถานภาพของเครื่องยนต์เลย

          เริ่มต้นก่อนกับหัวเทียนซึ่งเป็นชิ้นที่เลือกง่ายและไม่ค่อยมากเรื่องนัก ในรถที่โมดิฟายเพียงเล็กน้อยที่จริงแล้วคุณสามารถใช้หัวเทียนเบอร์เดิมตามสเป็คโรงงานได้เลย โดยที่ชีวิตไม่หดหู่ แต่หากมีโอกาสในการเลือกหัวเทียนให้เหมาะกับการขับขี่ในสไตล์ของตนเอง และความโหดในการขับขี่ก็จะดีกว่าเคยได้ยินคำพูดว่า "หัวเทียนเบอร์ 6 หรือหัวเทียนเบอร์7" ไหมครับ?  ไม่ต้องคิดมากเพราะสิ่งที่เขาพูดกันมันคือความสามารถในการขับความร้อนออกจากตัวเองของหัวเทียนนั่นเอง พวกหัวเทียนที่สามารถเก็บความร้อนไว้ในตัวเองได้มาก ๆ นั้นเขาเรียกว่า "หัวเทียนร้อน" ซึ่งมีข้อดี คือ ทำให้รถสตาร์ทติดง่ายและเผาไหม้หมดจด ในการขับขี่ทั่วไปแต่เมื่อทารุณกรรมมันหนักเข้า ตัวหัวเทียนเองก็จะอมความร้อนจนทำงานได้ไม่สมบูรณ์ เขาจึงต้องมีหัวเทียนเย็น ซึ่งมีแกนเก็บความร้อนไว้ในตัวเองเล็ก และจะระบายความร้อนจากตัวหัวเทียนไปสู่เบ้าหัวเทียน และรอบนอกได้ดีเพื่อช่วยให้ตัวหัวเทียนไม่ร้อนเกินไป จึงทำงานได้เสถียรกว่าในเครื่องที่โมดิฟายมา หรือเครื่องที่เจ้าของชอบขับแบบไอร์ตั้นเซนน่ากลับชาติมาเกิด ส่วนข้อเสียก็กลับกันกับหัวเทียนร้อนก็คือเวลาอากาศเย็นจะสตาร์ทยากหน่อย

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เฮดเดอร์

          นี่ก็เป็นอีกหนึ่งของแต่งเครื่อง NA ขั้นพื้นฐานที่เล่นกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อเราโน่น ผมเคยมีข้อสงสัยว่าเฮดเดอร์มันต่างจากท่อร่วมไอเสีย หรือ Exhaust Manifold ยังไง? มันก็เป็นที่ที่ไอเสียไหลมารวมกัน แล้วก็เข้าไปสู่เครื่องกรองไอเสียและระบบไอเสียทั้งเส้นต่อไปไม่ใช่หรือ? ประเด็นนี้ผมสับสนมากเพราะบางคนก็เรียกท่อร่วมไอเสียติดรถว่าเฮดเดอร์โรงงานแต่ผมลองไปถามคนเล่นรถรุ่นน้าดู เขาเลือกที่จะให้คำจำกัดความว่าเฮดเดอร์มันก็คือท่อร่วมไอเสียนั่นแหละแต่เป็นท่อร่วมไอเสียที่ถูกออกแบบและทำขึ้นมาโดยไม่ต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตมากเท่าของที่ผลิตโดยโรงงานรถยนต์เองและต้องมีรูปแบบที่คิดคำนวณมาอย่างดีให้เหมาะกับรูปแบบและลักษณะการใช้งานที่เครื่องยนต์นั้นจะถูกนำไปใช้
"นี่คือท่อร่วมไอเสียแบบต้นทุนต่ำที่ใส่มากับ GA16DE ไม่แปลกเลยที่ใส่เฮดเดอร์แล้วแรงขึ้นจม!"

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ECU คืออะไร และมีหน้าที่อะไร , กล่องแต่งดีใหม


          ECU หรือที่เราเรียกกันว่า “กล่องเครื่อง” ย่อมาจาก Electronic Control Unit เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีพื้นฐานมาจากคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักของกล่องเครื่อง ECU คือเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เพื่อนำมาประมวลผล และใช้ในการควบคุมการการสั่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ตามมาตรฐานทางด้านมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่กำลังของเครื่องยนต์ยังทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งการตรวจ สอบสถานะการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆที่ทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ (Diagnostic) นอกจากนี้ในปัจจุบันค่ายรถยนต์ ต่างๆได้มีการเพิ่มคุณสมบัติเฉพาะให้กับ ECU และเครื่องยนต์ของตนเอง ตามเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาของแต่ละค่าย

          ในเครื่องยนต์ปัจจุบัน ECU จะไม่ควบคุมเพียงแค่ การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และ การจุดระเบิดเท่านั้น ECU ยังสามารถที่จะควบคุมระบบต่างๆ อาทิเช่นระบบปรับความยาวท่อร่วมไอดีแปรผัน ระบบวาล์วแปรผัน การทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ พัดลมระบายความร้อน ระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น ซึ่งความสามารถเหล่านี้ไม่เป็นเพียงการลดความซ้ำซ้อนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ECU สามารถที่จะจัดการให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานสัมพันธ์กันได้ เพื่อประสิทธิภาพเครื่องยนต์สูงสุด ลดมลภาวะ และประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ยังผลให้เครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง มีกำลังที่สูงขึ้น ยืดอายุการใช้งาน มีการตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว และลดมลภาวะที่ปล่อยออกมา นอกจากนี้ ECU ยังทำงานร่วมกับระบบกันขโมย (Immobilizer) โดยระบบจะไม่อนุญาตให้กุญแจที่ไม่ถูกต้องสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ติดได้

ท่อไอเสีย (การเดินท่อและหม้อพัก)

          สิ่งนี้มักจะเป็นจุดแรกที่คนส่วนมากลงมือทำเพราะไม่ต้องมีการดัดแปลงเครื่องยนต์และในรถส่วนใหญ่ก็จะมีผลทำให้แรงม้าสูงขึ้นขับแล้วรู้สึกลากรอบไปไวขึ้น แม้ในบางครั้งมันคือเสียงท่อที่หลอกความรู้สึกเราอยู่ก็ตามระบบไอเสียทั้งระบบนี้นับตั้งแต่ช่วงหลังจากเครื่องกรองไอเสียไปจนสุดปลายหม้อพักท้ายสิ่งที่กำหนดว่ารถจะได้แรงขึ้นได้แค่ไหนก็อยู่ที่เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อและความอั้นของหม้อพักแต่ละใบ
ท่อ RM01A จาก Fujitsubo เป็นท่อไส้ตรงที่ออกแบบมาเพื่อแรงบิดรอบกลาง-สูง (Fujitsubo.co.jp)

เครื่อง N/A อยากแรงต้องอ่าน!!!!


เครื่องยนต์แบบ N/A จะต้องดูดอากาศเข้าไปเอง
ดังนั้นการทำให้เครื่องยนต์ดูดอากาศเข้าห้องเผาใหม้ให้มากและรวดเร็ว จึงเป็นปัจจัยหลัก

ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ที่เกี่ยวข้องกับการดูดอากาศคือ

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กรองอากาศ กับการแต่งจริงอะไรจริง

กรองอากาศและระบบทางเดินอากาศ : น้ำผึ้งบาทเดียวหรืออีดาบอาบน้ำนม?


          ต้องเขียนนำร่องแบบนี้ก่อนเพราะของแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียซึ่งไม่ได้หยุดอยู่แค่เรื่องคุณภาพของกรองอย่างเดียว กรองอากาศแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามหลักของนักเลงรถทั่วไปได้แก่กรองเดิมติดรถซึ่งมีราคาถูกมีความสามารถ ในการกรองฝุ่นที่ดีแต่อั้นลมอัดรอบสูงแล้วจมูกบี้ (แน่ใจเรอะ?) ส่วนประเภทต่อมาเรียกว่า "Drop-in Filter" หรือ บางทีก็เรียกว่า "Replacement Filter" ซึ่งหมายถึงกรองอากาศทรงแผ่นเหมือนกรองอากาศเดิมติดรถนั่นล่ะ แต่เปลี่ยนวัสดุเสียใหม่ให้อากาศไหลผ่านได้ดีขึ้นส่วนประเภทที่สามนั้นก็คือกรองเปลือยหรือ "Pod Filter.." ไม่ค่อยเห็นฝรั่งตาน้ำข้าวที่ไหนเขาเรียกว่า "Nude filter" นะผู้ชายส่วนใหญ่คงไม่ชอบนักแล้วมันเกี่ยวกับน้ำผึ้งบาทเดียวหรืออีดาบอาบน้ำนมอย่างไร? น้ำผึ้งบาทเดียวก็หมายถึงว่ากรองอากาศนั้นเมื่อรวมกับการคิดจัดวางระบบทางเดินอากาศที่ดีแล้วสามารถให้คุณประโยชน์กับเครื่องยนต์ได้มากโดยที่ถ้าใช้จ่ายอย่างรอบคอบแล้วจะพบว่าราคาค่าทำก็ไม่ได้แพงอะไรเลยแต่ถ้าใส่ไปแบบไม่คิดอะไรมากบางครั้งสิ่งดีๆที่เราตั้งใจมอบให้รถมันกลายเป็นของทำร้ายเครื่องโดยไม่รู้ตัวเขาเรียกว่าอีดาบอาบน้ำนมไงสำหรับกรณีนี้

Drop-in filter ที่สามารถใส่แทนกรองเดิมได้ทันทีไม่แรงแต่ความเสี่ยงต่ำและใช้แบบไร้กังวล

กรองเปลือย

          กรองเปลือยเป็นอุปกรณ์แต่งเครื่องยนต์ชิ้นแรก ที่นักแต่งรถนิยมหาซื้อมาใส่กัน แบบที่ว่าเปิดห้องเครื่องขึ้นมาต้องเห็นเกือบทุกคัน บางคนเปลี่ยนเพื่อหวังให้รถแรงขึ้น สวยงามขึ้น ไม่ต้องเปลี่ยนกรองอากาศบ่อยๆ ประหยัดน้ำมันขึ้น หรือบางคนเปลี่ยนตามๆเขาไป แต่จริงๆ แล้วเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้เป็นที่ถกเถียงกันมานมนาน ว่าใส่แล้วแรงขึ้น หรือแรงตกกันแน่ ขอตอบได้อย่างเดียวว่าทุกอย่างก็เกิดขึ้นได้ถ้ามี ... ก็อะไรล่ะครับ ก็ตั้งแต่การเลือกซื้อ ความต้องการของเครื่องยนต์ การติดตั้ง การดูแลรักษา ถ้าถูกวิธีแล้วไม่เห็นต้องกลัวเลยครับว่าจะแรงตก พังเร็ว หรือกินน้ำมัน ก่อนที่จะรู้จักกรองเปลือยเรามารู้จักหน้าที่ของกรองอากาศกันก่อนดีกว่า

กรองอากาศ


กรองอากาศ
ในทางวิศวกรรม การบอกลักษณะของกรองอากาศ จะพูดถึง
  1. ประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นการวัดความสามารถในการกำจัดฝุ่นออกจากอากาศ
  2. ความสามารถในการเก็บฝุ่น (Dust holding capacity) หมายถึงปริมาณฝุ่นที่กรองอากาศ สามารถเก็บไว้ได้
  3. ความเสียดทานของกระแสลม(Air flow resistance) คือค่าความดันตก (Static pressure drop) เมื่อผ่านกรองอากาศแล้ว