วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กรองอากาศ


กรองอากาศ
ในทางวิศวกรรม การบอกลักษณะของกรองอากาศ จะพูดถึง
  1. ประสิทธิภาพ (Efficiency) เป็นการวัดความสามารถในการกำจัดฝุ่นออกจากอากาศ
  2. ความสามารถในการเก็บฝุ่น (Dust holding capacity) หมายถึงปริมาณฝุ่นที่กรองอากาศ สามารถเก็บไว้ได้
  3. ความเสียดทานของกระแสลม(Air flow resistance) คือค่าความดันตก (Static pressure drop) เมื่อผ่านกรองอากาศแล้ว


          พูดถึงเรื่องขนาดของฝุ่น, ไอเสีย ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น ไมครอน (Micron) ขนาดของฝุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศจะมีขนาด 0.001 ถึง 1 ไมครอน (ขนาดฝุ่นที่มองเห็นด้วยตาเปล่า มีขนาด 10 ไมครอน) และขนาดของไอเสียเท่ากับ 0.01 ถึง 1 ไมครอน ดังนั้นกรองอากาศที่จะสามารถดักจับฝุ่น และไอเสีย เหล่านี้ได้จะต้องมีประสิทธิภาพดีจริง ๆ สำหรับการวัดประสิทธิภาพ ก็จะมีวิธีทดสอบต่างกันไป ตามมาตรฐานของสถาบันต่างๆ เช่น ASHARE, AFI, NBS โดยวิธีทดสอบที่นิยมใช้ก็มี
  • วิธีทดสอบโดยการชั่งน้ำหนัก (Weight Test) ซึ่งใช้ฝุ่นสังเคราะห์ เป็นตัวทดสอบผ่านกรองอากาศ มักใช้ทดสอบกับกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพต่ำ (กรองรถยนต์ ใช้วิธีทดสอบนี้)
  • วิธี Dust Spot efficiency ทดสอบโดยนำฝุ่นบรรยากาศมาผ่านกรอง แล้วนำมาหาค่าอัตราการส่องสว่างของแสง วิธีนี้จะใช้กับกรองอากาศประสิทธิภาพสูง
  • วิธี DOP Penetration โดยใช้กลุ่มควัน ของ DOP (Di-Octyl Phthalate) แล้ววัดหาความเข้มข้อของละออง DOP ใช้ทดสอบกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
นอกจากนี้กรองอากาศที่นิยมใช้กับรถยนต์ แบ่งได้ดังนี้
  1. กรองอากาศชนิดแห้ง (Dry Type) ชนิดนี้ทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์, เส้นใยพืช, ขนสัตว์ มักเป็นชนิดที่ใช้งานแล้วทิ้ง เนื่องจากมีราคาถูก และออกแบบมาให้ใช้งานระยะเวลาหนึ่ง ….. กรองอากาศที่ติดมากับรถ เป็นชนิดนี้
  2. กรองอากาศชนิดที่เคลือบด้วยสารที่มีความหนืด เช่นพ่นด้วยน้ำมัน เพื่อให้แผ่นกรองอากาศ เกิดความเหนียว และเพิ่มความสามารถในการดัดจับฝุ่นให้ดีขึ้น กรองชนิดนี้ที่เป็นรู้จักในหมู่ผู้ใช้รถคือ ยี่ห้อ K&N ซึ่งจะสามารถนำมาใช้งานได้หลายๆ ครั้ง หลังจากที่ล้างทำความสะอาด และเคลือบน้ำยาใหม่
ทำไมจึงมีข้อแนะนำให้ ทำความสะอาดกรองอากาศแบบชนิดที่ใช้งานแล้วทิ้ง ??
          เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ก่อนที่จะเปลี่ยนกรองอากาศใหม่ เราสามารถยืดอายุการใช้งานของกรองอากาศ โดยการทำในข้อ 2 คือ ความสามารถในการเก็บฝุนของกรองอากาศ นั่นคือ กำจัดฝุ่นเดิมที่กรองอากาศกักไว้ ให้กรองอากาศสามารถดักจับฝุนใหม่ได้ โดยที่กรองอากาศยังไม่อุดตันเสียก่อน นอกจากนี้ยังช่วยให้อากาศสามารถผ่านกรองได้สะดวกขึ้น ซึ่งช่วยให้ผลในการประหยัดน้ำมัน แน่นอนครับประสิทธิภาพของกรองอากาศ ก็จะลดลงไปบ้าง


          สิ่งที่อยากให้ผู้ใช้รถทุกคนได้ทราบก็คือ ข้อแนะนำต่างๆ จากผู้ผลิต เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เนื่องจากได้ผ่านการทดสอบมาแล้ว แต่ ในสภาพการใช้งานที่แตกต่างไป ผู้ใช้รถ ก็สามารถที่จะศึกษา หรือหาวิธีการที่เหมาะสม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้

ที่มา : auto2thai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น