วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบปรับอากาศรถยนต์โดยสังเขป

 
 
                                 อย่างที่ท่านผู้อ่านทราบกันดีว่า อากาศในประเทศไทยนั้น ร้อนอบอ้าว ทำให้รถยนต์ที่แล่นอยู่ในบ้านเรา จึงจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องปรับอากาศ กันจนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่หลายๆท่าน อาจจะยังไม่รู้จักว่า ภายในระบบปรับอากาศของรถยนต์นั้น ประกอบด้วยชิ้นส่วนอะไรบ้าง และแต่ละชิ้น มีหน้าที่อย่างไร

                                 เรามาทำความรู้จักระบบแอร์รถยนต์กัน ว่าระบบการทำงานของแอร์รถยนต์นั้นทำงานกันอย่างไร เพื่อท่านผู้อ่านจะได้เข้าใจในการทำงานของระบบต่างๆภายในแอร์รถยนต์ได้เป็น อย่างดี พูดถึงระบบแอร์รถยนต์แล้วท่านเองอาจจะคิดว่า ระบบแอร์ของรถยนต์แต่ละรุ่นนั้นคงเหมือนกันหมด แต่จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ รถยนต์บางรุ่นมีระบบแอร์ที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่การออกแบบระบบการทำงาน ตั้งแต่คอมเพรสเซอร์แอร์ก็มีความแตกต่างกันมาก สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน คอมเพรสเซอร์แอร์นั้นมีทั้งทำงานด้วยคลัตซ์ไฟฟ้าและไม่มีชุดคลัตซ์ไฟฟ้าแล้ว ส่วนระบบไฟฟ้าของระบบแอร์นั้นก็มีมากมายกว่ารถยนต์รุ่นเก่าหลายเท่าทีเดียว ช่างที่ให้บริการถ้าไม่เรียนรู้เทคโนโลยีรุ่นใหม่ๆยากที่จะให้บริการได้

                                เรามาดูรูปประกอบไปด้วยดีกว่าว่าการทำงานของระบบแอร์นั้นมีอุปกรณ์ส่วนใดทำ หน้าที่อย่างไรกันบ้าง มาดูที่คอมเพรสเซอร์ (Compressor) กันก่อนนะครับ ในภาพของตัวคอมเพรสเซอร์ก็จะเห็น "ลูกสูบคอมเพรสเซอร์" ซึ่งเวลาพู่เล่ย์คอมเพรสเซอร์หมุน ลูกสูบภายในตัวคอมเพรสเซอร์นี้ จะยังไม่หมุน นอกเสียจากเราเปิดแอร์แล้วกดสวิตช์ AC  บนแผงหน้าปัด กระแสไฟฟ้าก็จะถูกส่งมาที่ชุดคลัตซ์ไฟฟ้าของคอมเพรสเซอร์ จานหน้าคลัตซ์ก็จะถูกสนามแม่เหล็กดึงเข้ามาจับกับพู่เล่ย์ลูกสูบจึงหมุนตาม พู่เล่ย์ จึงทำให้คอมเพรสเซอร์ทำกำลังอัด และดูดในเวลาเดียวกัน


                                ท่อที่เห็นเป็นสีแดงนั้นเป็นท่อที่ดันน้ำยาออกมาเข้าแผงระบายความ ร้อน(คอนเดนเซอร์ : Condenser) ที่ท่อแรงดันสูงจากคอมเพรสเซอร์เป็นสีแดงจุดนั้น หมายถึง สภาพน้ำยาแอร์นั้นยังเป็นแก๊สอยู่ จนกระทั่งการระบายความร้อนถูกพัดลมระบายได้อุณหภูมิลดลง น้ำยาก็จะแปรสภาพเป็นของเหลวดังในรูปที่เป็นแถบสีแดงทึบ แล้วน้ำยาที่ไหลเข้ามากรองที่ดรายเออร์ (Dryer) และส่ง เข้ามาที่ เอ็กแพนชั่นวาล์ว (Expansion Valve) เจ้าวาล์วนี้ก็จะทำหน้าที่ลดแรงดัน (หรือฉีดน้ำยาให้เป็นฝอย) อย่างรวดเร็วจนเกิดการควบแน่น ที่เป็นท่อสีฟ้าทึบนั้นคือท่อของ อีวาปอเรเตอร์ (Evaporator : คอยล์เย็น) เป็นน้ำแข็ง และแถบสีฟ้าเริ่มจางลง เนื่องจากถูกพัดลมในห้องโดยสารเป่าอยู่  แล้ว น้ำยาที่จะค่อยๆแปรสภาพจากของเหลวเป็นแก๊สอีกครั้ง แล้วถูกคอมเพรสเซอร์ดูดกลับมา แล้วอัดออกไปอีก กระบวนการก็จะหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดระยะเวลาที่เราใช้แอร์

ระบบไฟฟ้าแอร์รถยนต์โดยสังเขป

                               เราพูดถึงการทำงานของระบบน้ำยาแอร์กันมาแล้ว ว่าทำงานอย่างไร ทีนี้ก็มาถึงระบบไฟฟ้า ที่เป็นตัวควบคุมคอมเพรสเซอร์และพัดลมไฟฟ้ากันว่า กระบวนการณ์ต่างๆทำงานกันอย่างไรบ้าง กว่าจะมาเป็นระบบแอร์ให้เราใช้อย่างสมบูรณ์ ผมจะยกตัวอย่างพอสังเขปนะครับ
                              1.สวิชต์เข้าตัวมอเตอร์พัดลม พร้อมกันนั้นกระแสจากสวิทย์พัดลมยังถูกจ่ายไปหาเทอร์โมสตรัทพร้อมกันด้วย
                              2.เทอร์โมสตัทแอร์รถยนต์(มีหลายชนิด)ทำหน้าที่เป็นตัววัดอุณหภูมิความเย็น เมื่อความเย็นในตู้แอร์เย็นได้ระดับที่เราปรับตั้งไว้ เทอร์โมสตรัทก็จะตัดวงจรไฟฟ้า ให้คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน เพื่อป้องกันไม่ให้ตู้แอร์เป็นน้ำแข็ง

                             อ่านดูเบื้องต้นระบบการทำงานของระบบแอร์นั้น ดูเหมือนจะง่าย แต่ระบบไฟฟ้าของแอร์นั้นยังซับซ้อนอยู่มาก เช่น เราเปิดเทอร์โมสตัทแล้ว วงจรไฟฟ้าจากเทอร์โมสตัทจะถูกส่งมาที่เพรสเชอร์สวิตช์และกล่อง ECU เพื่อชดเชยรอบเครื่องยนต์ และยังส่งกระแสไฟฟ้ามาที่รีเลย์คลัตช์คอมและรีเลย์พัดลมไฟฟ้าด้วย นอกจากนี้ยังไม่รวมระบบแอร์ที่เป็น Automatic ที่มีเซ็นเซอร์อีกมากมาย
                             หวังว่าบทความที่ท่านอ่านมาคงเป็นประโยชน์สำหรับท่านในระดับหนึ่ง  ในตอนหน้า เราจะพูดคุยกันลงลึกในรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้ 
(รายละเอียดติดตามตอนต่อไปครับ)
                                                                                                                                              ราชันต์แอร์


----------------------------------------///------------------------------------------
วินัย บุญโชติ
อู่ราชันต์แอร์ 
rachanair.net

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องเก่า นำมาเล่าใหม่ "แฉแก๊งรถหรูแจ้งติดแก๊สหลีกเลี่ยงภาษี"


          แฉเล่ห์แก๊งนำเข้ารถ "รถหรูจดประกอบ" ปอร์เช่ เฟอร์รารี่ สปอร์ตซิ่ง แต่กลับแจ้งติด "แก๊ส" หลีกเลี่ยงภาษีนำเข้า รัฐสูญรายได้ 30 % ทำเป็นขบวนการ  สำแดงนำเข้าเป็นอะไหล่รถ แต่ที่จริงนำมาเป็นคัน ก่อนไปขอจดทะเบียน แจ้งติดแก๊ส หลีกเลี่ยงขั้นตอนตรวจ “สมอ.” ให้ขนส่งล้างเล่ม ก่อนขายให้กลุ่มรักรถหรู-รถซิ่ง ราคาต่ำกว่าท้องตลาด คาดมีเป็นพัน ๆ คัน “ศส.บช.น.” เตือน คนซื้อมาใช้อาจน้ำตาตกใน เสียเงินแถมถูกยึดรถ

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค้ำโช๊คคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร ?

Strut Tower Bar คืออะไร มีกี่ชนิด 

เหล็กค้ำโช๊ค (Strut Tower Bar) , (Strut Bar) หรือบางคนเรียก ไทร์บาร์
          เป็นแกนกลางยึดระหว่าง หัวเบ้าโช๊คทั้งสองด้านของตัวถังรถยนต์ มีหน้าแปลนยึดติดกับหัวเบ้าโช๊ค หน้า - หลัง หรือค้ำยันกับตัวถังรถส่วนใดส่วนหนึ่ง จุดประสงค์การผลิตทำขึ้นเพื่อลดอาการบิดตัวของตัวถังรถ จริงๆแล้วความนุ่มนวลในการขับขี่ และ การเกาะถนนนั้น ได้รับตัวแปรสำคัญมาจากตัวถังรถ (ง่ายๆว่า) ตัวถังจะมีการบิดตัวไปมา ซ้าย-ขวา บน-ล่าง ตามสภาวะจริงที่รถวิ่งผ่านไปตามสภาพถนน (ถ้าคุณได้เคยเห็นภาพการทดสอบตัวถังรถ จะเห็นว่าจริงๆแล้วตัวถังสามารถบิดตัวได้น่าอย่างอัศจรรย์) เป็นส่วนทำให้รถมีการขับขี่ที่นุ่มนวล ดังนั้นการเพิ่มจุดเชื่อมตัวถัง การตีโรลบาร์ หรือการสร้างเหล็กมาเสริมความแข็งแรงกับตัวถังรถ รวมถึงการติดตั้ง Strut Tower Bar นั้นเป็นวิธีการที่วงการแข่งขันรถยนต์ทำนิยมกัน เพื่อรองรับการใช้งานที่หนักขึ้นและลดการบิดตัวของตัวถังนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Engine Management System

          ในช่วงหลัง ๆ มานี้เนื่องจากกล่อง ECU ติดรถรุ่นใหม่ชอบมีฟังก์ชั่นปิดนู่นป้องกันนี่อย่างเช่น Honda Civic FD เครื่อง R18A และ K20Z หรือ Nissan Tiida HR16DE และ MR18DE ซึ่งแม้จะใส่กล่องจูนแล้ว แต่กล่อง ECU ติดรถจะล็อคค่าการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วง Close loop (Close loop - อธิบายสั้น ๆ คือ เป็นช่วงที่ภารกรรมของเครื่องต่ำและคันเร่งถูกกดไม่มากซึ่งจะจ่ายน้ำมันในอัตราส่วนเชื้อเพลิง 1 ส่วนต่ออากาศ 14.7 ส่วนหากเติมน้ำมันเบนซิน) อย่างเครื่อง Nissan รุ่นใหม่ ๆ นั้นสามารถปรับแต่งค่าการจ่ายน้ำมันได้เฉพาะช่วงที่กดคันเร่งหนักและรอบเครื่องสูงส่วน Honda Civic นั้นจะไม่ออกจาก Close loop จนกว่าคันเร่งจะกดเกิน 80% และถึงแม้ทำการจูน MAP น้ำมันไปแล้วเครื่องยนต์จะค่อย ๆ คืนค่าที่ตั้งมาจากโรงงานกลับอย่างช้าๆ

          หลายคนพบปัญหานี้บางคนที่สามารถเสกเงินเกินครึ่งแสนได้ง่าย ๆ ก็ใช้วิธีแทนที่ด้วยกล่อง Standalone เสียเลย..ถูก...ถูกโคดแค่ 6-7 หมื่นบาทซึ่งถ้าแพงไปก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งนั่นก็คือการ "Reflash" ซึ่งไม่ใช่การเอากล่องไปผูกบนเสาแล้วรอฟ้าผ่าแต่เป็นการโหลดข้อมูลใหม่ลงไปทับ ROM ของเดิมใน ECU โรงงานโดยตรงไม่ได้ใช้วิธีการหลอกสัญญาณเหมือนการพ่วงกล่อง Piggyback ดังนั้นจึงสามารถปรับได้หลายอย่างแม้กระทั่งการปลดล็อครอบเครื่องยนต์ให้ลากเกินขีดจำกัดของโรงงานปลดพันธนาการจากฟังก์ชั่นล็อค Close loop โดยไม่ต้องห่วงเรื่องที่ว่ากล่องจะคืนค่าโรงงานกลับเหมือนเดิม

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เรื่องของกล่องเทพไม่เทพอยู่ที่การใช้งานให้คุ้มค่า

          ในยุคแห่งโอเดงย่าและการ์ดดราก้อนบอลเราอาจจะรู้จักหนทางในการปรับแต่งการจ่ายน้ำมันและไฟจุดระเบิดของเครื่องยนต์ด้วยชิพแต่งกล่อง Pre-program จากสำนักดัง ๆ ราคาแพง ๆ หรือ วิธีอื่น ๆ เช่น กล่องหลอกไฟจุดระเบิดแต่ในยุคที่เด็กประถมพก Blackberry อย่างนี้วิทยาการยุคใหม่ก้าวไกลจนทำให้เราสามารถหาวิธีปรับจูน ECU ได้ละเอียดขึ้นในราคาที่ถูกลง(เมื่อเทียบกับรายได้ของคนส่วนใหญ่)
          คำว่ากล่องแต่ง, กล่องจูน, จูนกล่อง, พ่วงกล่องกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับการแต่งรถไปแล้วไอ้คำว่ากล่องที่พูดถึงกันนั้นก็แยกออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมและใช้ได้ดีในปัจจุบัน