วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เครื่อง N/A อยากแรงต้องอ่าน!!!!


เครื่องยนต์แบบ N/A จะต้องดูดอากาศเข้าไปเอง
ดังนั้นการทำให้เครื่องยนต์ดูดอากาศเข้าห้องเผาใหม้ให้มากและรวดเร็ว จึงเป็นปัจจัยหลัก

ชิ้นส่วนในเครื่องยนต์ที่เกี่ยวข้องกับการดูดอากาศคือ



1. ปากลิ้นเร่ง ขนาดของปากลิ้นเร่งส่งผลถึงปริมาณอากาศที่จะเข้าสู่เครื่องยนต์
โดยตัวแปรหลักๆ ที่จะบอกถึงขนาดของปากลิ้นเร่ง คือปริมาตรของเครื่องยนต์, ความเร็วรอบเครื่องที่ใช้
และความสามารถในการประจุอากาศเข้าสู่ห้องเผาใหม้ ซึ่งขนาดของปากลิ้นเร่งจะต้องมีขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสมนั้น สามารถคำนวณหาได้
 *** หากเราโมฯ แค่พื้นฐาน ปากลิ้นเร่งเดิมๆ ก็รองรับได้สบายโดยไม่ต้องเปลี่ยน ***


2. ท่อทางเดินอากาศ(ท่อไอดี) ในเครื่องยนต์บางรุ่น มีการออกแบบให้ท่อไอดีแปรผันตามความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ซึ่งมีข้อดีคือช่วยให้อัตราเร่งดี ต่อเนื่องทั้งต้นและปลาย โดยท่อดังกล่าวจะมีทั้งหมด 8 ท่อ(ในเครื่องยนต์ 4 สูบ) โดยแยกทำงานครั้งละ 4 ท่อ แต่หากเราโมฯ ด้วยการทำให้การประจุอากาศเข้าได้เร็วและต่อเนื่องแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป ดังนั้นท่อไอดีที่เหมาะสมสำหรับรถที่โมฯ คือทำให้ท่อมีทางเดินอากาศที่ใหญ่และสั้นที่สุด
 *** การโมฯ ในสเต็ปต้นๆ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนท่อไอดีแต่อย่างใด หากอยากทำบ้างก็เพียงแต่ปรับสภาพผิวภายในให้ลื่นก็พอ ***

3. Port ไอดี เป็นทางเดินอากาศเข้าสู่ห้องเผาใหม้ที่ต่ออยู่กับท่อไอดี Port ในเครื่องยนต์แต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกัน เครื่องยนต์บางรุ่น Port จะถูกออกแบบให้อากาศไหลผ่านเข้าไปหมุนวนในห้องเผาใหม้ บางแบบก็ให้อากาศเข้าไปตรง ๆ ดังนั้นการขัดหรือขยายport จึงต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย วิธีขัดPort ให้ได้ขนาดและแนวทางเดินอากาศคงเดิมแบบง่าย ๆ ทำได้ด้วยการเอา สีเสน มาทาให้ทั่วPort เมื่อเราเริ่มขัดบางๆ สีก็จะหลุดออกไป ทำให้เรารับรู้ได้ว่าจุดใดขัดแล้ว หรือจุดใดที่ยังไม่ขัด เมือขัดครบรอบและต้องการขัดอีกก็ทาสีใหม่อีกครั้ง ทำซ้ำๆไปเรื่อยๆจนเสร็จ อีกจุดหนึ่งที่ควรพิจารณาคือบริเวณฐานแกนวาล์ว เนื้อของฝาสูบบริเวณนี้ จะปิดกั้นการไหลของอากาศพอสมควร การปาดจุดนี้ออกจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้อากาศFLOW ได้ดีขึ้น Port ไอเสีย เมื่อมีการเพิ่มน้ำมันและอากาศเข้าไปในเครื่องยนต์ให้มากขึ้น เมื่อเกิดการจุดระเบิดขึ้นมา มวลของไอเสียก็ย่อมจะมากขึ้นด้วย ดังนั้นขนาดของไอเสียเดิมย่อมที่จะระบายไอเสียออกไม่ทัน การขัดหรือขยาย Port ของไอเสีย ก็ย่อมมีความจำเป็น ทั้ง Port ไอดี และ Port ไอเสีย จะทำเพียงแค่ขัดลื่นหรือต้องขยาย ทั้งหมดขึนอยู่กับว่า เราเติมอากาศและน้ำมัน เข้าไปในจำนวนมาก - น้อย แค่ใหน ช่างมืออาชีพเขาคำนวณได้ว่าควรจะขยายเท่าไร
 *** การโมฯ สเต็บต้นของเครื่องN/A ควรทำฝาสูบก่อน ***

4. ห้องเผาใหม้ สภาพของห้องเผาใหม้ที่ดีต้องออกแบบให้อากาศคลุกเคล้ากันได้ดีด้วย นอกจากนี้ ขนาดของห้องเผาใหม้คือตัวกำหนดถึงกำลังอัดว่ามีสัดส่วนเท่าไร ในเครื่องยนต์แบบ N/A ค่ากำลังอัดจะแตกต่างกับเครื่องที่มีระบบอัดอากาศ คือN/A จะมีกำลังอัดที่สูงกว่า และกำลังอัดที่น้ำมันออกเทน 95 จะรองรับได้แบบสบายๆ คือ 11 ต่อ 1 การเพิ่มกำลังอัด ทำได้โดยการปาดฝาสูบออกหรือลดความหนาของปะเก็น เพื่อลดขนาดของห้องเผาใหม้ลง จะปาดลดเท่าไร จึงได้ค่าที่กำหนด จุดนี้ก็สามารถคำนวณหาได้เช่นกัน
 *** การโมฯ สเต็บต้นของเครื่องN/A คือทำกำลังอัดให้ได้ 11 ต่อ 1 ***

5. วาล์ว มันคือชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่เสมือนประตูย่อยๆ ที่จะเปิดให้อากาศเข้าสู่ห้องเผาใหม้ โดยวาล์ว จะถูกควบคุมการทำงานโดยแคมชาร์ฟ หากเราต้องการให้อากาศเข้าได้มากและรวดเร็ว ก็ทำได้โดยการขยายขนาดของวาล์วให้ใหญ่ขึ้น
 *** การโมฯ สเต็บต้นของเครื่อง N/A ไม่จำเป็นต้องทำที่จุดนี้ ***

6. แคมชาร์ฟ จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของวาล์ว โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือองศาการเปิด - ปิดและระยะยก(Lift) องศามาก จะเปิด - ปิด นานมาก, ระยะยกมาก จะทำให้วาล์วเปิดขึ้นสูงมาก การนำเอาแคมชาร์ฟที่มีระยะยกมากๆมาใช้ ต้องคำนึงถึงค่าความแข็ง( K ) ของสปริงวาล์วด้วย ไม่งั้นจะทำให้วาล์ว ทำงานผิดพลาดที่รอบสูงๆได้ นอกจากนี้การปรับการทำงานของแคมชาร์ฟให้ทำงานก่อนหลังจากStandard ด้วยการใช้ Spocked มาช่วยปรับ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่จะเรียกแรงม้าหรือแรงบิดในรอบต้นๆได้
 *** การโมฯ สเต็บต้นของเครื่องN/A จำเป็นต้องทำที่จุดนี้ โดยหาแคมที่มีองศาตั้งแต่ 256 , 264 หรือ 272 (ไม่ควรเกินนี้) และหากแคมฯมีระยะยก ไม่เกิน 10.0 ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสปริงวาล์ว ***

7. กล่องECU ควรมีกล่องแบบปรับจูนได้สักใบ ไว้ปรับจูนทุกอย่างให้ลงตัว, หากใช้หัวฉีดเดิมและเปิดจนหมดแล้ว แต่น้ำมันยังไม่พอ ก็ค่อยเปลี่ยนหัวฉีดให้ใหญ่ขึ้นอีก
 *** การโมฯ สเต็บต้นของเครื่องN/A จำเป็นต้องทำที่จุดนี้ ***
8. ครัทช์และเกียร์ หากแรงม้าและแรงบิดมีมาก จนครัทช์และเกียร์รับไม่ได้ ก็ต้องปรับเปลี่ยนเช่นกัน จุดหลักของการถ่ายแรงม้าลงพื้น คือการทำให้ล้อไม่ฟรีทิ้งหรือฟรีน้อยที่สุด นอกจากการปรับอัตราทดเกียร์ให้เหมาะสมแล้ว ในรถที่มีการขับเคลื่อนแบบสองล้อ ควรนำเอา Limited Slip มาใช้ด้วย จะช่วยลดอาการเหล่านี้ลงได้มาก

9. ท่อไอเสีย  เมื่อมีการเพิ่มน้ำมันและอากาศเข้าไปในเครื่องยนต์ให้มากขึ้น เมื่อเกิดการจุดระเบิดขึ้นมา มวลของไอเสียก็ย่อมจะมากขึ้นด้วยดังนั้นขนาดของไอเสียเดิมย่อมที่จะระบายไอเสียออกไม่ทัน การขยายท่อไอเสีย ก็ย่อมมีความจำเป็น จะขยายออกมาเท่าไร ก็สามารถคำนวณหาได้เช่นกัน การใช้ท่อไอเสียที่มีขนาดไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้รถคุณวิ่งไม่ดีได้เช่นกัน

อุปกรณ์หรือการปรับแต่งนอกจากนี้ เช่น หัวเทียน, สาย, กรองอากาศ หรือ ปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิงปรับแต่งก็ต่อเมื่อมันส่งผลกระทบต่อการทำงานของเครื่องยนต์
ในการโมดิฟายขั้นพื้นฐาน หากคุณทำจุดหลักๆ ตามนี้ และปรับให้ทุกอย่างสัมพันธ์กัน รถคุณวิ่งดีกว่าเดิมแน่นอน อย่าไปคิดว่า เลือกเอาของแต่งที่สเป็กสูงสุดในแต่และชิ้นมาประกอบใส่เครื่องยนต์แล้วจะวิ่งดีที่สุด หัวใจคือการทำทุกอย่างให้ลงตัว และทำโดยครบถ้วนทุกจุดที่ต่อเนื่องกัน ไม่ใช่แค่เปลี่ยนลูกสูบเพียงอย่างเดียวแล้วแรง...... ไม่งั้นเขาทำกันหมดแล้วครับ


Cradit galantvr4club.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น